11 May, 2021

Tisco: ปัจจัยพันธุกรรมที่ส่งผลต่อความรุนแรงของโรค COVID-19

Genfosis ให้สัมภาษณ์เรื่องปัจจัยพันธุกรรม (DNA) ที่ส่งผลต่อความรุนแรงของโรคโควิด-19 แก่ TISCO wealth
.
.
เคยสงสัยหรือไม่ว่า ทำไมอาการของผู้ป่วยโรคโควิด-19 เกิดขึ้นกับแต่ละคนในรูปแบบที่ต่างกัน และมีหลากหลายอาการ ตั้งแต่อาการคล้ายโรคหวัดธรรมดา ไปจนถึงอาการรุนแรง เช่น ปอดอักเสบรุนแรง หรือระบบทางเดินหายใจล้มเหลว …
.
เชื่อหรือไม่ DNA มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ !?!
ดร.นพ.สาครินทร์ บุญบรรเจิดสุข ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ็นโฟสิส จำกัด (Genfosis) อธิบายว่า ความจริงแล้ว มีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อความรุนแรงของโรคโควิด-19 ทั้งที่เป็นปัจจัยจากเชื้อโควิดสายพันธุ์ต่างๆ และปัจจัยด้านตัวผู้ป่วย โดยหากเจาะลึกลงไปในส่วนของ “ปัจจัยด้านตัวผู้ป่วย” ก็จะพบได้ว่า กลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงจากโรคโควิด-19 รุนแรง ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ (มากกว่า65ปี) รวมถึงผู้ที่มีโรคประจำตัวบางโรค เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคปอดเรื้อรัง โรคอ้วน เป็นต้น
.
DNA มีความสัมพันธ์กับโควิด-19 อย่างไร ?
จากการศึกษาในระดับโมเลกุลพบว่า ปัจจัยทางพันธุกรรม (genetic factors) หรือ DNA ก็ส่งผลต่อโอกาสการติดเชื้อ (genetic susceptibility) และความรุนแรงของโรค (severity) โดยคนที่มีรูปแบบของ DNA บางรูปแบบ จะทำให้มีโอกาสติดเชื้อง่ายกว่าคนทั่วไป และ DNA บางรูปแบบ ส่งผลต่อความรุนแรงของโรค เช่น ปอดอักเสบรุนแรง ด้วย
.
DNA รูปแบบไหน ที่เมื่อติดโควิด-19แล้ว จะมีอาการจะรุนแรง ?
จากการศึกษาในผู้ป่วยโควิด19 ที่มีอาการรุนแรงพบว่า คนที่มีความแปรผันของรหัสพันธุกรรมในบางยีน เมื่อติดเชื้อ จะมีอาการรุนแรงกว่าประชากรทั่วไป เช่น
1. ยีนที่เกี่ยวข้องกับภูมิต้านทานของร่างกายต่อเชื้อไวรัส : เมื่อภูมิต้านทานอ่อนแอ ผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรงได้
2. ยีนที่เกี่ยวข้องกับกลไกเชื้อไวรัสเข้าสู่เซลล์ : ซึ่งทำให้เชื้อไวรัสเข้าสู่เซลล์ร่างกายได้ง่าย
3. ยีนที่เกี่ยวข้องกับกรุ๊ปเลือด : โดยกรุ๊ปเลือด A จะมีความเสี่ยงสูงกว่ากรุ๊ปอื่น
.
ตรวจDNA เช็คความต้านทานโควิด-19 ใช้เวลานานแค่ไหน ?
การตรวจ DNA เพื่อบอกปัจจัยทางพันธุกรรม (genetic factors) ว่าเมื่อสัมผัสเชื้อแล้ว จะมีโอกาสการติดเชื้อมากหรือน้อย และถ้าติดเชื้อแล้ว จะมีความรุนแรงของโรค มากหรือน้อยเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของประชากร สามารถตรวจได้หลายวิธี ยกตัวอย่างเช่น วิธี SNP array ซึ่งตรวจจากน้ำลายหรือเลือด โดยใช้ระยะเวลาการตรวจประมาณ 3-4 สัปดาห์
.
.
References
1. Severe Covid-19 GWAS Group, Ellinghaus D, Degenhardt F, et al. Genomewide Association Study of Severe Covid-19 with Respiratory Failure. N Engl J Med. 2020;383(16):1522-1534.
2. Pairo-Castineira E, Clohisey S, Klaric L, et al. Genetic mechanisms of critical illness in COVID-19. Nature. 2021;591(7848):92-98.
3. Zhang Q, Bastard P, Bolze A, et al. Life-Threatening COVID-19: Defective Interferons Unleash Excessive Inflammation. Med (N Y). 2020;1(1):14-20.
.
.
ที่มา: TISCO wealth
วันที่ 11/05/2021
https://www.tiscowealth.com/article/dna-covid19.html
Tag: dna, ดีเอ็นเอ, ตรวจDNA, ตรวจดีเอ็นเอ, โควิด19, covid19, genfosis, เจ็นโฟสิส, โควิด-19, COVID-19, พันธุกรรม